วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

DBA09 SPU-สรุปบทที่ 4 การแบ่งส่วนตลาด และการเลือกตลาดเป้าหมาย

บทที่ 4
การแบ่งส่วนตลาด และการเลือกตลาดเป้าหมาย


การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)หมายถึง “ กระบวนการ การแบ่งตลาดรวมหนึ่งๆ เป็นตลาดย่อยๆ ซึ่งมีสมาชิก ที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยเมื่อแบ่งเป็นส่วนย่อยแล้วจะเห็นความแตกต่างและความหมายในแต่ละส่วนย่อย “

       Market Segmentation เป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันขององค์กร พิจารณาจากลักษณะลูกค้า การซื้อ การใช้ ข้อมูล และวัตถุประสงค์ร่วมกัน เมื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าได้บริษัทก็จะวางตำแหน่งสินค้าใน Segment ที่เหมาะสม
ในการพิจารณาเลือก Segment ที่เหมาะสมนั้นต้องดูปัจจัยเหล่านี้
มีปริมาณลูกค้าในกลุ่มมากพอหรือไม่ (Substantiality)
สามารถวัดความต้องการได้หรือไม่ (Measurability)
สามารถเข้าถึงได้หรือไม่ (Accessibility)

สามารถบ่งบอกการกระทำหรือความต้องการได้หรือไม่ (Responsiveness)
เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
1. ตัวแปรทางประชากรศาสตร์ (Demographic variable)
2. ตัวแปรทางภูมิศาสตร์ (Geographic variable)
3. ตัวแปรทางจิตวิทยา (Psychographic variable)  
4. ตัวแปรทางพฤติกรรม (Behaviouristic variable)
นักการตลาดส่วนใหญ่มองว่าตัวแปรทางพฤติกรรม (Behaviouristic variable) เป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ในการแบ่งส่วนตลาด
เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรม
1. การแบ่งส่วนตลาดระดับมหภาค
- Product use
- Customer size
- Customer type
- Market geography
2. การแบ่งส่วนตลาดระดับจุลภาค
- Key purchasing criteria
- Purchasing strategy
- Important of purchase
- Personal Characteristic
การเลือกตลาดเป้าหมาย (Target Market Selection)
ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินความน่าสนใจ (Attractiveness) ของแต่ละส่วนตลาด คือ 
-  ขนาดของส่วนตลาด 
-  อัตราการเจริญเติบโต 
-  อัตราความเสี่ยง 
-  จำนวนคู่แข่งขัน 
-  ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 
-  ทิศทางของส่วนตลาดนั้น

กลยุทธ์ในการกำหนดตลาดเป้าหมาย (Strategies for Selecting Target Markets)
1. กลยุทธ์ตลาดรวม
ข้อดี ประหยัดด้านต้านทุนการผลิตและ การตลาด
ข้อเสีย ลูกค้าบางคนอาจไม่ชอบ
2. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว ใช้กับธุรกิจขนาดเล็ก Niche Market และ Micro Market
ข้อดี เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ข้อเสีย มีความเสี่ยงสูง
3. กลยุทธ์ตลาดหลายส่วน
ข้อดี กระจายความเสี่ยง มีโอกาสเป็นผู้นำ หรือเพิ่ม Market share

ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายสูง
การวางตำแหน่งสินค้าในตลาดธุรกิจ (Positioning)
คือ ตำแหน่งของสินค้าในความคิดของผู้บริโภคเมื่อเทียบกับของคู่แข่ง




************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น